วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ทำไมต้อง Search Engine Optimization (SEO)

Search Engine เป็นสื่อออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ทั้งยังเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายบนอินเตอร์เน็ตได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับสื่อ โฆษณาแบบ Online อย่างป้ายโฆษณา (Banner) และสื่อ Offline อย่างโทรทัศน์และป้ายโฆษณาทั่วไป เมื่อเปรียบเทียบในแง่การแสดงผล และจำนวนของผู้ที่จะได้เห็นป้ายโฆษณาเหล่านั้น Search Engine กลับมีค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาที่ถูกกว่าหลายเท่าตัว ดังนี้แล้วหากต้องการที่จะเพิ่มช่องทางการตลาด เพิ่มยอดขาย เพิ่มอัตราผู้เข้าชมเว็บไซต์ ควรจะต้องทำให้เว็บไซต์ของเรานั้นติดอันดับอยู่ใน 10 อันดับแรก ของผลการค้นหา ในทุกครั้งที่มีการค้นหาจากคำค้นหา (keyword) ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของเว็บไซต์เรา

ดังนั้นการทำ Search Engine Optimizgation (SEO) ถือ ว่าเป็นสิ่งจำเป็นมาก สำหรับเว็บไซต์ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต เพราะผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเหล่านี้จะสามารถเข้าถึง และรู้จักเว็บไซต์ของเราได้ง่ายมากขึ้น และยังแน่ใจได้ว่า เว็บไซต์ของเราคุ้มค่ากับทุกๆ การลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ SEO เพราะสามารถติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างชัดเจน และเราจะได้รับผลตอบแทนที่ดีมากในอนาคต

จุดเด่นในการทำ Search Engine Optimization (SEO)

ประสิทธิภาพสูง : ทำให้มีผู้เข้าเว็บไซต์ของท่านมากขึ้น เพราะผู้ใช้ Search Engine ประมาณ 95% จะนิยมคลิกเฉพาะเว็บไซต์ที่ปรากฏใน 2 หน้าแรกเท่านั้น

เพิ่มความน่าเชื่อถือ : เนื่องจากผลลัพธ์ของการค้นหา จะปรากฎในตำแหน่งทางซ้ายมือ หรือเป็นตำแหน่งของผลการค้นหาธรรมชาติ ที่จะได้เปรียบมากกว่า ตำแหน่งผู้สนับสนุนทางด้านขวามือ ซึ่งเพิ่มความเชื่อถือให้กับลูกค้า ว่าเว็บไซต์ของท่านได้รับความนิยมอย่างสูง ในเว็บ Search Engine นั้น

ตรงกลุ่มเป้าหมาย : การทำ SEO นั้น จะส่งผลให้เว็บไซต์ของท่าน ได้รับการโฆษณาตรงตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างแท้จริง เพราะการเลือกคำค้นหา (Search Keyword) จะทำให้เว็บไซต์ของท่าน จะปรากฎเมื่อมีผู้สนใจในสินค้า และบริการประเภทนั้น ซึ่งมีความต้องการที่จะซื้อ หรือใช้บริการ ณ เวลานั้นด้วย

ประหยัด และคุ้มค่า : เมื่อเทียบกับการโฆษณา ประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ทีวี , วิทยุ , หนังสือพิมพ์ , นิตยสาร และการโฆษณาแบนเนอร์ในเว็บไซต์ นั้น วิธี SEO ถือว่าประหยัด และคุ้มค่าที่สุด เมื่อเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้ในแง่ของธุรกิจ

เว็บไซต์ของท่าน จะปรากฎอยู่ตำแหน่งใดในเว็บไซต์ Search Engine ? การทำ SEO นั้น จะเน้นให้ผลของคำค้นหา (Search Keyword) ปรากฏอยู่ในส่วนของ “ผลการค้นหาธรรมชาติ” (Natural Search Result หรือ Organic Search Result) ซึ่งจะแสดงอยู่ในส่วนของผลลัพธ์ทางด้านซ้ายมือของเว็บ Search Engineนั่นเอง ดังรูป


เครดิต business-online

SEM คืออะไร ? (Search Engine Marketing)

Search Engine Marketing (SEM) การทำการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ต คืออะไร

อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งรวมข้อมูล และความรู้ขนาดใหญ่ที่สุด และกำลังได้รับความนิยมมากในการใช้งานปัจจุบัน และเนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลในอินเตอร์เน็ตนั้น ทำให้บางครั้งผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ จึงทำให้เกิดการพัฒนาระบบสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตหรือเสิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) ขึ้นมา โดยระบบสืบค้นข้อมูลนั้นเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อการค้นหา 

แต่เมื่อเว็บไซต์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและข้อมูลต่างๆ มีความหลากหลายและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงต้องพัฒนาการค้นหาข้อมูลด้วยการกำหนดคำสำคัญ (Keyword) เพราะทำให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้ใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด และจากการเก็บรวบรวมข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีและอีเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NECTEC) พบว่าลักษณะการใช้งานอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้ทั่วไปนั้น เป็นการสืบค้นข้อมูลมากถึง 89.7% และจากการที่ผู้ใช้จำนวนมาก ทำการสืบค้นข้อมูลผ่านเสริช์เอนจิ้น เพื่อที่จะหาสินค้าหรือบริการที่ต้องการ ทำให้เกิดแข่งขันของเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก ที่ต้องการจะผลักดันเว็บไซต์ของตนเองให้เข้าไปติดอันดับต้นๆ ของ การค้นหา โดยการทำให้เว็บไซต์ของตนเองเข้าไปติดอันดับต้นๆ ของการค้นหาใน Search Engine นั้น เรียกกว่าเป็น การตลาดผ่าน เสริช์เอนจิ้น (Search Engine MarketingSEM)

โดย SEM คือ การทำการตลาดโดยผ่านการค้นหาทาง เสริช์เอนจิ้น สามารถแบ่งการทำการตลาดในลักษณะนี้ออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

1. การปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อทำอันดับในผลการค้นหา Search Engine Optimization หรือ SEO

2. การลงโฆษณาแบบจ่ายต่อคลิ้ก Pay per Click Advertising หรือ PPC


เครดิต RedRank

Sitemap คืออะไร ?

Sitemap แปลเป็นภาษาไทยแบบบ้านๆ ว่า แผนที่เว็บไซต์ หรือ แผงผังเว็บไซต์ ซึ่ง Sitemap ก็คือความหมายตรงๆ ของคำที่แปลเป็นภาษาไทยก็คือแผนที่ของเว็บไซต์ ซึ่ง Sitemap ในเว็บไซต์จะต้องอธิบายโครงสร้างทั้งหมดของเว็บไซต์ได้ เพื่อเป็นการสร้างปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อ Search Engine(Google,Yahoo) และผู้ใช้งานทั่วไปด้วย ซึ่งในหน้าSitemap นี้จะเป็นการรวม Link ทั้งหมดภายในเว็บไซต์ให้อยู่เพียงหน้านี้หน้าเดียว

เครดิต sutenm

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

26 ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ติดอันดับโลก

คล็ดไม่ลับ การสร้างเว็บไซต์ให้ผู้เข้าชมติดใจเว็บไซต์คุณ
หากคุณทำตาม ขั้นตอนเหล่านี้อย่างเคร่งครัด คุณจะประสบความสำเร็จภายในหนึ่งปี ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นภาษาอังกฤษ แต่ถ้าเป็นภาษาไทย ยอดน่าจะได้ประมาณ 2000 คนต่อวัน หลายๆคนอาจจะไม่เชื่อว่าเป็นไปได้ ผมเองก็ไม่อยากจะเชื่อ แต่ไม่เชื่อนั่นแหละดี เราจะได้พิสูจน์กันไปพร้อมๆกันเลยว่า อีกหนึ่ง ปีข้างหน้า ยอดเว็บของเราจะพุ่งถึง 2000 คนต่อวัน จริงหรือเปล่า? ลองมาทำตามไปพร้อมๆกันเลยครับ (บทความนี้ เน้นถึงการทำเว็บไซต์ที่เหมาะกับ Search Engine และดึงผู้เข้าชมจาก Search Engine เป็นหลัก)

A ) เตรียมตัวให้พร้อม:
เตรียมตัวคุณให้พร้อม และเตรียมเนื้อหาให้พร้อม เนื้อหาของเว็บไซต์สำคัญกว่าชื่อโดเมนเสียอีก ถ้าหากคุณคิดชื่อโดเมนได้ แต่ไม่มีเนื้อหา คนเข้ามาก็ จะรู้สึกแย่กับเว็บคุณ แล้วก็จะไม่กลับมาหาคุณอีกเลย! ทางที่ดี ควรจะเผื่อเนื้อหาไว้ให้พร้อมซัก 100 หน้าเป็นอย่างน้อย ที่สำคัญๆก็อย่างเช่น About Us หรือ Company Profile, Contact Us, Privacy Policy, Terms of Agreement เป็นต้น และถ้าเป็นไปได้ ต้องเป็นเนื้อหาที่หาที่ไหนไม่ได้ ตรงมาอ่านที่เว็บไซต์ของคุณเท่านั้น จะเยี่ยมมากๆ
ชื่อโดเมน:
ต้อง เน้นให้ จำง่าย, พิมพ์ง่าย ยิ่งพยางค์น้อย หรือน้อยตัวอักษรได้เท่าไหร่ยิ่งดี ถ้าจะให้ดีมี keyword สำคัญๆของคุณอยู่ในโดเมนด้วยยิ่งดี แต่บางคน ก็คิดว่า ชื่อโดเมนที่มี keyword อยู่ด้วยนั้น “Out” ไม่ทันสมัย เชยระเบิดระเบ้อ นั่นก็ขึ้นอยู่กับความชอบเป็นการส่วนตัว อย่าง SEOthai นี่จะถือว่ายาว ก็ได้ สั้นก็ได้อีก หรือชื่อที่ไม่มีความหมายอย่าง Google ใครจะคิดว่าจะดังเปรี้ยงปร้างขนาดทุกวันนี้ นั่นขึ้นกับหลักง่ายๆที่ว่า ของดีเสียอย่าง ใครๆก ็อยากได้ เพราะฉะนั้น เตรียมเนื้อหาของคุณให้ดี เอาเวลาคิดชื่อโดเมนเก๋ไก๋ไปทำเนื้อหาดีกว่าครับ
C) ออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ให้ใช้ง่าย และตรงกับกลุ่มเป้าหมาย:
ง่าย ไว้ก่อน ดีที่สุด ! ดีทั้งกับ Spiders และดีทั้งผู้เข้าชม, ดีกับ Spiders จะทำให้คนค้นหาเว็บไซต์ของคุณได้ง่าย และทำให้มีคนเข้ามามาก และเมื่อเข้ามาแล้วเว็บไซต์ใช้งานง่าย ทำความเข้าใจง่าย เนื้อหาก็ดี โดเมนจำง่าย ใครจะไม่เข้ามาอีก คุณอาจจะถามไปอีกว่า ง่ายน่ะ ง่ายยังไง เว็บของผมไม่เห็นจะใช้งานยากตรงไหนเลย? ผมมีวิธีทดสอบสองวิธีครับ
วิธี แรก ให้ลองนึกไปถึงวันแรกๆที่คุณใช้คอมพิวเตอร์ เล่นอินเทอร์เนต ความรู้สึกในวันนั้น คุณคงจำได้ว่า มันเงอะๆงะๆไปหมด ปุ่มไหนคืออะไร จะไปหน้าอื่นต้องทำอย่างไร รู้สึกว่ามันมีปุ่มอะไรต่างๆเยอะแยะไปหมด เอาง่ายๆ Mouse ยังใช้ไม่คล่องเลย! จริงมั้ยครับ? ลองนึกไปถึงวันนั้น แล้วดูเว็บของคุณอีกทีว่า ถ้าคุณในวันนั้นมาเข้าชมเว็บคุณ จะรู้สึกอย่างไร?
วิธี ที่สอง เป็นวิธีทดสอบโดยใช้อาสาสมัคร โดยคุณจะต้องหาคนที่ไม่เคยใช้เว็บของคุณเลย จะเป็นคนที่ใช้อินเทอร์เนตคล่องอยู่แล้ว หรือจะเป็นมือใหม
่หัด Serve Net ก็สุดแท้แต่ ขอให้มีเขายินดีมาเป็นตัวทดสอบเป็นใช้ได้ การทดสอบก็ง่ายๆ โดยการที่คุณตั้งโจทย์ให้ผู้ทดสอบ ทำอะไรซักอย่าง เกี่ยวกับเว็บไซต์ของคุณเช่น อาจจะให้ลองเลือกซื้อของ หรือหาบทความที่มีอยู่ในเว็บ และคุณนั่งดูอยู่ข้างหลัง ดูอย่างเดียวนะครับ ห้ามแนะนำใดๆทั้งสิ้น ดูว่าเขาใช้งานได้คล่องเหมือนคุณหรือเปล่า? ถ้าไม่เกิน 20 นาทีก็ถือว่าผ่านครับ
อีกอย่างก็คือต้องพยายามจัด เนื้อหาของหน้าแรกให้ตรงกับกลุ่มคำ หรือข้อความในหัวข้อหลักของเว็บ มันจะมีความจำเป็นเมื่อ search engine ส่ง
bot มาสำรวจเว็บของคุณมันจะได้รู้สึกว่าเว็บของคุณมีเนื้อหาไปในทำนองเดียวกับ meta-tag หรือ title จริงๆ
ความ เร็วอาจจะไม่ใช่ทุกอย่าง การทำให้โหลดเร็วเข้าว่าเพียงอย่างเดียวก็อาจจะทำให้เว็บขาดความน่าสนใจไป มันอยู่ที่ว่าคุณจัดสรรหรือคัดเรื่องเด่นแค่ไหนเข้ามาลงหน้าแรก
D) ขนาดของข้อมูลในแต่ละหน้า (File Size):
ยิ่ง เล็กยิ่งดี แต่กำลังพอดีจะดีที่สุด ถ้าเนื้อหามีน้อยก็ควรใส่รูปภาพประกอบ ตกแต่งให้สวยงาม แต่ถ้าเนื้อหามีมาก ถ้าใส่ไว้ในหน้าเดียวอาจจะทำให้โหลดข้อมูลนานเกินไป ควรจะทำการแบ่งเป็นหน้าๆ ตั้งชื่อแต่ละหน้า ตามหัวข้อของหน้านั้นๆ ไม่ต้องกังวลเรื่องขนาดของไฟล์มากจนเกินไป ควรจะแบ่งให้อ่านแล้วรู้เรื่อง ไม่ใช่แบ่งซอยยิบเกินไป หวังให้โหลดเร็ว อย่างนั้น Search Engine ชอบ แต่คนไม่ชอบ เข้ามาแล้วอาจจากไปลับก็ได้ ควรให้พอดีๆ
E) เนื้อหา:ทำเนื้อหาตาม Keyword ที่เหมาะกับเว็บไซต์ของคุณ
โดย การตั้ง Keyword เป็นตัวตั้ง ยกตัวอย่างเช่น เว็บของคุณขายต้นไม้ส่งในประเทศ เช่น ทานตะวัน.คอม คุณอาจจะเลือก “ไม้ประดับ” หรือ “ไม้มงคล” เป็น Keyword แล้วทำเนื้อหาตาม Keyword ที่เลือกไว้ แล้วคอย Update อย่างสม่ำเสมอ รับรองว่า “ไม้มงคล” หรือ “ไม้ประดับ” ของคุณจะออกดอกออกผลให้ได้ชื่นชมแน่ๆ
F) จำนวน Keyword และการจัดวางตำแหน่งในแต่ละหน้า:
แน่ นอนว่า ถ้าคุณอยากให้ Search Engine หาคุณพบด้วย Keyword คำไหน แต่ไม่มีคำนั้นๆในเว็บไซต์ของคุณเลย จะเป็นไปได้หรือ? และถ้ามีมากจนล้นเลยยิ่งแล้วใหญ่ (Spam) Search Engine เกลียดนัก ถือว่าดูถูกความสามารถกันอย่างร้ายแรง คุณต้องระวังให้จงหนักเลย ทางที่ดีควรจะมีไม่เกิน 5% ต่อจำนวนคำทั้งหมดในหน้านั้น (ไม่นับ Tag HTML) แต่ถ้าจำเป็นจะต้องมี Keyword คำนั้นๆมากๆ เพราะเหตุการณ์บังคับ ก็ควรจะใช้มุขเดิมคือ แบ่งเป็นหลายๆหน้า หรือหาเนื้อหาอื่นๆมาเพิ่ม ลดทอนจำนวน Keyword นั้นลง
G) การเชื่อมโยงไปเว็บไซต์อื่นๆ:
เชื่อม โยงถึงเว็บไซต์ใหญ่ๆ ด้วย Keyword ในหน้านั้นเป็นการอ้างอิงให้ผู้เข้าชมเชื่อถือ แถมยังอ้างให้ Search Engine รู้ด้วยว่าเราเป็นเว็บ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆได้ง่ายยิ่งขึ้น (Ralate Link) เพราะเว็บไซต์ใหญ่ๆนั้น Search Engine รู้จักดีอยู่แล้ว เมื่อเราอ้างถึงเว็บไซต์นั้นๆ Search Engine จะสร้างความสัมพันธ์กับเว็บไซต์ของคุณ กับ Keyword ที่คุณ link ออกไป เปรียบเหมือนการแนะนำตัวกับ Search Engine เว็บไซต์ของเราอยู่หมวดหมู่ไหนนั่นเอง
H) โครงสร้างของการเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ของคุณ (Cross Links หรือ Link Structure):
cross links ก็คือ links การเชื่อมโยงข้อมูลภายใน website ของเรานั้นเอง ถ้าคุณทำเว็บไซต์เกี่ยวกับอาหาร คุณอาจจะต้องมีการเชื่อมโยงไปยัง หน้า แอปเปิ้ล หรือ ผักผลไม้อื่นๆ หรืออะไรก็ตามที่ชื่อพ้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ ไม่จำเป็นจะต้องทำทุกหน้า แต่ถ้าคุณขยันและมีเวลาพอละก็ ผมแนะนำ ให้คุณทำ link ในคำทุกคำที่สามารถ link ได้ แต่ต้องไปหาหมวดหมู่หรือหน้าที่เกี่ยวข้องนะครับ และที่สำคัญมากๆ ทุกหน้าควรมี link ไปหน้าแรกเสมอ ห้ามลืม เด็ดขาด!!!
I) ได้เวลาออนไลน์:
ถ้า คุณมีทุนทรัพย์เพียงพอ คุณควรเลือก Hosting ที่มี IP ให้สำหรับคุณคนเดียว ไม่ควรเลือกแบบ Virtual Host แต่ถ้าเบี้ยน้อย หอยน้อย เลือก ็Host ราคาถูกๆ แต่ไม่ค่อยล่ม ก็พอได้อยู่ เมื่อมี Hosting แล้ว เนื้อหาพร้อมแล้ว link sturcture ทำได้นวลเนียนดีแล้ว ก็ออนไลน์ออกสู่โลกกว้างได้เลยครับ และ ขอให้จำไว้เลยว่า ถ้าไม่พร้อม อย่าเพิ่งออนไลน์เด็ดขาด นอกเสียจากคุณไม่แคร์ และคุณมีวินัยเพียงพอที่จะเพิ่มเนื้อหาได้อย่างต่อเนื่อง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผมแนะนำให้คุณใจเย็นๆ รอให้พร้อมก่อนดีกว่าอยู่ดี
J) Submit:
ได้ เวลาของการโฆษณาแล้วครับ ขั้นตอนนีคือการเอาเว็บของคุณไป submit ตาม search engine ต่างๆ เท่านี้แหละครับ อย่าไปคาดหวังว่าจะได้รับการจัดอันดับในเร็ววันครับ คอยตรวจสอบบ้างสัปดาห์ละครั้งก็พอ
K) ตรวจสอบและติดตามผล:
ทำได้ โดยการวิเคราะห์ log ครับ ไม่ต้องไปสนใจข้อมูล graphics ที่สวยงามแต่ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไร ทำนอง “สวยแต่รูป จูบไม่หอม” ไม่เอาครับ logs file คือสิ่งที่เราต้องการ อย่าลืมดูว่า logs มีข้อมูล referer หรือเปล่า ถ้าไม่ก็ย้าย hosting ดีกว่าครับ ถ้าคุณอ่าน Logs File ไม่เป็น ผมแนะนำให้ คุณจ้างโปรแกรมเมอร์ มาจัดส่วนตรงนี้ให้คุณดีกว่า บอกความต้องการเขาไปว่า อยากให้เขียนโปรแกรมวิเคราะห์ Log File ให้แสดงผลออกมาในแบบ คุณอ่านรู้เรื่อง หรือหาๆเอาใน internet นี่แหละครับ ของฟรี ดีด้วย ยังมีอีกเยอะ เพียงแต่คุณจะหามันเจอหรือเปล่าเท่านั้นเอง
L) เอาอกเอาใจ Spider ให้มากๆเข้าไว้:
ให้ คุณคอยดูว่า มีแมงมุม (Spiders) มีล่าเหยื่อ (เนื้อหา) ของคุณไปติดหรือยัง? หมายความว่า Search Engine ส่ง Bot หรือ Spider เข้าไปเก็บ ข้อมูลเว็บไซต์ของคุณไปหรือยัง ตรวจสอบง่ายๆด้วยการใช้คำสั่ง site:www.thaigamesport.comโดยเปลี่ยนจาก thaigamesport เป็นชื่อโดเมนของคุณเอง เท่านี้ คุณก็จะได้รู้ว่า แมงมุมฮุบเหยื่อยัง ถ้ายัง ต้องรีบมาตรวจแล้วว่าผิดกฏของ Search Engine บ้างหรือเปล่า? โครงสร้าง Link ดีหรือไม่อย่างไร มีเว็บอื่นสร้าง link มาหาคุณบ้างหรือเปล่า ถ้าไม่มีเลย คุณก็ต้องหาพันธมิตรให้ได้ ไม่งั้นเว็บของคุณก็จะกลายเป็นเว็บร้างแน่ๆ
M) จัดหมวดหมู่ให้เรียบร้อย เน้นเข้าใจง่าย ใช้ง่ายเป็นหลัก:
พยายามจัดหมวดหมู่ของ keyword ให้เป็นเรื่องเดียวกับ topic ของมันครับ ไม่มีอะไรมาก
N) Links จากเว็บประเภทเดียวกัน:
ในกรณีที่เว็บของคุณได้รับการ index บน http://www.dmoz.org/ แล้ว ให้คุณพยายามขอแลก link กับเว็บในหมวดหมู่เดียวกัน ถ้าเขาไม่ยอม รับแลกก็ไม่เป็นไร ขอกับเว็บอื่นก็ได้ ใครก็ได้ที่ยอมรับการแลกกับเรา เน้นให้พยายามแลก link กะเว็บที่ค่อนข้างจะมีการ update อย่างต่อเนื่อง
O) เนื้อหาๆๆ:
ควร จะมีหน้าที่มีเรื่องที่เด่นๆ ในแต่ละวัน โดยถ้าเป็นบท ความยาวๆ หน่อยจะดีมาก อย่าพยายามลงในเรื่องที่มีคนสนใจน้อย หรือเรื่องที่มันกว้างเกินไป อันนี้คุณต้องกลับไปค้นหนังสือวิชาภาษาไทยเรื่องการเขียนเรียงความมาอ่านสัก หน่อยก็จะดีครับ เขียนให้อ่านง่ายๆไว้ก่อน สำนวนภาษาเป็นเรื่องเฉพาะตัว แต่ก็ฝึกกันได้ ขอให้เขียนทุกวันเป็นใช้ได้ เมื่อครบปีแล้ว คุณลองกลับมาอ่านบทความแรกๆที่คุณเขียน คุณจะได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทีเดียว
P) ลูกเล่น ต่างๆ:
พยายาม หลีกเลี่ยงลูกเล่นแปลกๆ ที่อาจจะสร้างความ สนุกให้ท่าน แต่นั่นอาจจะสร้างความรำคาญให้แก่คนที่เข้ามาชมก็เป็นได้ พยายามให้มันดูกลางๆ ไม่จืดหรือหวือหวาจนน่ารำคาญ
Q) Link จากเว็บพันธมิตร:
ข้อ นี้จะต่างจากข้อ N ตรงที่อาจจะเป็น Link ที่ไม่ได้มาจากเว็บในประเภทเดียวกัน แล้วจำเป็นที่จะต้อง Link กลับไปหาเว็บนั้นๆด้วย เรียกง่ายๆว่า “การขอแลก Link” นั่นเอง อันนี้ผมแนะนำว่าคุณจำเป็นต้องเลือกสักหน่อย อย่า Link ไปสะเปะสะปะ เพราะถ้า link ปลายทางเป็น เว็บโป๊ ละก็ ภาพลักษณ์ของเว็บของคุณก็จะถูกมองเป็นเว็บแนวๆนั้นทันที เสียทั้งหน้าตา และ Search Engine ก็จะงงกับเว็บคุณอีกด้วย
R) บริการเสริม:
เพิ่ม บริการเสริมที่จำเป็นอย่างเช่น “ส่งเว็บนี้ให้เพื่อน” กระดานสนทนา หรือจดหมายข่าว เป็นต้น เท่านี้ก็แทบจะเพียงพอแล้ว อย่าเพิ่มลูกเล่นอื่นๆ ที่ไม่จำเป็น เพราะนั่นอาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการจ้างทำเว็บของคุณสูงจนเกินจำเป็น แถมยังเปล่าประโยชน์อีกด้วย
S) อย่ายัดเยียดโฆษณา!:
ถ้าเว็บไซต์ ของคุณเป็นเว็บไซต์ขายสินค้า ขอให้ระมัดระวังเรื่องการโฆษณาสักหน่อย อย่ายัดเยียดจนดูน่าเกลียด ต้องทำให้ดูแนบเนียนประมาณว่า ผู้เข้าชมได้รับชมโฆษณาไปโดยไม่รู้ตัว อย่างนั้นได้ยิ่งดี โปรดระลึกไว้เสมอว่า ผู้ชมเข้าเว็บของคุณเพราะต้องการเนื้อหา หรือ สินค้าที่ต้องการ ไม่ใช่ “โฆษณา”
T) เพิ่มเนื้อหา หรือ สินค้า บ่อยๆและสม่ำเสมอ:
ควรเพิ่มเนื้อหา หรือบทความอย่างสม่ำเสมอ สิ่งนี้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำเว็บไซต์เลยทีเดียว
U) เรียนรู้เรื่อง Logs:
หลัง จากเปิดดำเนินการได้ 30-60 วัน ก็ได้เวลาที่จะต้อง ทำตัวเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลกันแล้วครับ ข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ก็ควรจะนำมาจาก Log Files นั่นเอง คุณควรจะคอยดูว่าผู้เข้าชมใช้ Keyword คำไหนเข้ามาสู่เว็บคุณ อาจจะเป็นคำที่คุณไม่ได้เตรียมไว้ (Optimize) ถ้าเป็นอย่างนั้นคุณควรจะ Optimize เพิ่ม ยกตัวอย่างเช่น ผู้เข้าชม มักจะใช้คำว่า “orange citrus fruit” แต่ว่าคุณเตรียมเนื้อหาไว้สำหรับคำว่า “oranges” ฉะนั้นคุณควร จะเตรียมเนื้อหาสำหรับคำว่า “citrus” และ “fruit” แล้วก็ทำ Cross Links ถึงกัน
V) การกะระยะเวลา:
เมื่อทำให้เว็บไซต์ได้รับความนิยมแล้ว ไม่ได้ทำให้คุณหมดหน้าที่ไป เพราะคุณยังคงต้องเฝ้าประคบประหงม เว็บของคุณให้ติดอันดับต่อไปอีก เหมือนขี่หลังเสือ ไม่อาจจะลงได้ การะวิเคราะความเป็นไปก็ยังค้องต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง อย่าลืมนะครับว่า กว่าที่ keyword ของคุณจะไปประกฎใน search engine อาจจะใช้เวลานานถึง 3 เดือนเช่นถ้าคุณต้องการให้ผลิตภัณฑ์ของ คุณปรากฏอยู่ใน search engine ในตอนต้นปี คุณอาจจะต้องทำ web ให้เสร็จก่อนหน้านั้นถึง 3 เดือนเป็นอย่างน้อย
W) เพื่อนและพันธมิตร:
ในโลกความเป็นจริงคุณ ต้องมีเพื่อนหรือทำความรู้จักผู้คน ในโลกอินเทอร์เน็ตก็เช่นกัน คุณควรจะทำความรู้จักผู้คน โดยการเข้าที่กระดานสนทนา หรือ กระดานข่าวในเรื่องที่คุณสนใจ แต่ว่ากระดานสนทนาเกี่ยวกับ SEO ในบ้านเรายังไม่เห็นมี คุณต้องหากระดานสนทนาของประเทศ เช่น http://www.searchengineworld.com/ เป็น และเมื่อคุณเข้าไปแล้ว ก็ใช่ว่าควรจะอ่านอย่างเดียว คุณควรจะสมัครสมาชิก รับจดหมายข่าว แสดง ความเห็นหรือสอบถามบ้าง อย่าลืมว่ากระดานข่าวไม่ใช่แค่เข้าไปแล้ว อ่านๆ อย่างเดียว แต่กระดานข่าวตอบคำถามคุณได้
X) อย่าลืมจดบันทึกไอเดียเด็ดของคุณ:
หาก คุณเพิ่มเนื้อหาใหม่ๆทุกวัน นั่นอาจจะทำให้คุณต้องใช้สมองจนเครียดพอสมควรทีเดียว เพราะฉะนั้นบางครั้งคุณอาจจะคลายเครียด โดยการเปลี่ยน กิจกรรมที่กำลังทำอยู่ เช่น ออกไปเดินเล่น อาบน้ำ แต่เมื่อหลังจากการคลายเครียดแล้ว บางครั้งรายระเอียดที่คุณพยายามคิดมาตั้งนาน ก็พลันหายไปพร้อม กับความเครียด!! ผมแนะนำว่า คุณควรจะจดบันทึกไอเดียของคุณเอาไว้ทุกครั้งที่นึกออก หรือก่อนจะออกไปพัก หรือถ้าคุณมีเครื่องบันทึกเสียงก็ยิ่งดี มันจะ ช่วยคุณได้ในกรณีที่ไอเดียของคุณหลั่งไหลออกมาจนคุณจดตามไม่ทัน คุณอาจจะพูดๆๆ ใส่เครื่องบันทึกเสียง แล้วค่อยกรอกลับมาฟังใหม่ รับรองไอเดีย เด็ดของคุณจะไม่สูญหายไป
Y) ตรวจสอบผลการ Submission เมื่อผ่านไปได้ 6 เดือน:
กลับ ไปดูว่าผลการ Submission กับ Search Engine ต่างๆ หรือ Directory ต่างๆ อย่างเช่น ODP นั้น Index เว็บไซต์ของคุณให้หรือยัง? ถ้ายัง คุณต้อง ReSubmit ไปอีกครั้ง คราวนี้จะมีโอกาสเพิ่มขึ้น เพราะคุณมีเนื้อหาหรือสินค้ามากกว่าเดิม 180 หน้าแล้ว
Z) พยายามสร้างเนื้อหาที่ Search Engine ชอบ ทุกๆวัน:
เนื้อหา ที่ Search Engine ชอบเป็นอย่างไร? อธิบายง่ายๆก็คือเนื้อหาที่มีการคัดกรองมาอย่างดี มีบทนำ มีเนื้อหา มีบทสรุป เน้นในสิ่งที่ควรเน้น มีจำนวนคำต่อหน้าที่พอเหมาะ มีการอ้างอิงถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้รับความนิยม (มีจำนวน Link มาหามาก) ไม่ทำผิดกฏของ Search Engine ไม่ใช้ ลูกเล่นหรือ HTML ที่ซับซ้อนจนเกินกว่าที่ Search Engine จะเข้าใจได้ (Search Engine ไม่ฉลาดเท่า Browser) จะว่ายากก็ไม่น่ายาก เท่าไหร่ นักที่จะทำให้ได้ครบทุกข้อ แต่ถ้าคุณคิดเนื้อหาไป แล้วก็ Optimize ไปด้วย ผมรับรองว่ายากแน่ๆ คุณควรจะคิดเนื้อหาให้ครบถ้วนก่อน จากนั้นให้ทำ เว็บไซต์ด้วย HTML Code ง่ายๆก่อน แล้วจึง Optimize เป็นอันดับสุดท้าย ถ้าคุณทำได้ครบ สิ้นปี คุณจะมีจำนวนหน้าที่คุณภาพคับแก้ว เกือบ 400 หน้าทีเดียว!
ขั้นตอนทั้งหมด 26 ขั้นตอนนี้ ถ้าทำตามทั้งหมดแล้วรับรองว่าคุณจะเพิ่มยอดผู้เข้าชมให้คุณได้แน่นอน อยู่ที่ว่าคุณจะทำเต็มที่แค่ไหน? ตั้งใจอย่างต่อเนื่องแค่ไหน? อย่างน้อยๆก็ 500 - 2000 คนต่อวัน และหากคุณเพิ่มเนื้อหาดีๆ วันละ 4-5 บทความ หรือถ้าเว็บของคุณขายสินค้า คุณก็ควรจะมีรายละเอียดสินค้าแบบละเอียดในทุกๆสินค้าที่คุณขายบนเว็บของคุณ นั่นอาจจะทำให้ยอดผู้เข้าชมพุ่งไปถึง 15000 คนต่อวันก็เป็นได้ ขอให้คุณโชคดี และมีความสุขกับการพัฒนาเว็บไซต์ของคุณ

ที่มา http://www.seoinw.com/

SEO Promote website - แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับ search engine

ทำ seo โดยใส่ keyword ในส่วนต่างๆ ของเว็บเพจ
แนะนำเทคนิคการทำ SEO website หลักๆ ประจำวันนี้ คือการใส่ Keyword เข้าไปในส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ เพิ่มให้อันดับใน Search Engine Results อยู่ในอันดับต้นๆ? โดยได้รวบรวมมาจากเว็บไซต์เกี่ยวกับ SEO จากที่ต่างๆ และจากประสบการณ์การทำ SEO ด้วยตัวเอง

เราควรใส่ keyword ในเว็บเพจตรงใหนดี ?

  1. ใช้ keyword ที่บริเวณ ชื่อหน้าเพจ (Title) ให้เราใส่ Keyword ที่เราต้องการจะใส่โดยให้น้ำหนักจากการเรียงจาก ซ้ายไปขวา อันนี้สำคัญที่สุด ห้ามขาดหรือลืมใส่เด็ดขาด เพราะจะทำให้ Search Engine ไม่ทราบว่าเนื่อหาของเราเกี่ยวกับอะไร โดย search engine จะ Title เป็นข้อหัวหลัก แล้วเอาเนื้อหามาเป็นตัวเพิ่มคะแนนของเว็บเพจนั้นๆ
  2. ใช้ keyword ที่บริเวณชื่อหัวข้อของเนื้อหา (Heading tag) โดยการใช้ H1,H2,H3 เป็นต้น แต่ไม่ควรใส่ keyword ในทุกๆ H ใส่แค่ H1 หรือ H2 ก็พอ
  3. ใช้ keyword ที่บริเวณ เนื้อหาในส่วนแรก (First Content) ให้ใส่ Keyword ไว้ในตำแหน่ง 20 คำแรกโดยประมาณ ให้ชัดเจน หรืออาจจะใช้ตัวอักษรลักษณะเอียงก็ได้
  4. ใช้ keyword ที่บริเวณ ลิงค์เชื่อมโยงมาตรฐาน (Standard Text Link) คือการเชื่อมโยงในลักษณะ การใช้ Text link เป็นตัวเชื่อมโยง แล้วแทรก Keyword ผสมเข้าไปด้วย
  5. ใช้ keyword ที่บริเวณ เนื้อหาในส่วนสุดท้ายของหน้า (The last content) เพื่อเน้นย้ำหรือใช้ในการสรุปเนื้อหา อาจจะใช้เป็นลักษณะตัวเอียงหรือหนา (แนะนำให้ใช้ tag <b>คีย์เวิร์ด</b> แทน <strong>คีย์เวิร์ด</strong> เพราะ Search Engine ชอบ HTML แบบเก่ามากกว่าแบบใหม่) ก็ ได้ครับ
  6. ใช้ keyword ที่บริเวณ เมนูเลื่อนลง (Drop Down Menu) Drop down menu นี้เป็นที่ซ่อน Keyword ที่ดีอีกที่ที่ไม่ควรมองข้าม
  7. ใช้ keyword ตั้งชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ (Folder name, File name) วิธีนี้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจพอสมควรครับกับการทดลองใช้ในหลายๆ เว็บที่ผมลอง หากต้องใช้ Keyword มากกว่า 1พยางค์ ควรใช้เครื่องหมาย ?-? เป็นตัวคั่นกลาง
  8. ใช้ keyword ที่บริเวณ คำอธิบายรูปภาพ (Images alt tag) การใช้ tag alt เข้าช่วยนั้นเพราะว่า Search Engine นั้นไม่รู้จักรูปภาพเราสามารถบอก Search Engine ให้รู้ว่าภาพนั้นเป็นภาพของอะไรได้โดยใช้ tag alt=?keyword? นี้เข้าช่วย
  9. ใช้ keyword ที่บริเวณ คำอธิบาย ลิงค์ (Text link title) การใช้ text link title นั้นคลายการใช้ tag alt เพียงแต่ tag นี้ใช้อธิบาย link
  10. ใช้ keyword จด Domain name ด้วย Keyword (Domain name register) การใช้ Keyword หลักของเว็บในการจด Domain name นั้นหากทำได้ดีถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่งแล้วครับ
  11. ในส่วนของเนื้อหา ให้เน้น keyword ด้วย tag <b>คีย์เวิร์ด</b> ซัก 2-3 แห่ง แต่ต้องระวังไม่ใส่มากเกินไป
  12. ในช่วย ย่อหน้าแรกๆ ควนใส่คีย์เวิร์ด ใน tag < p> ประมาณ 2 ครั้ง จะเป็นการดี

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Google Adsense ที่ผิดกฎ ติด Adsense แบบนี้โดนแบนแน่ๆ

1. Encouraging Accidental Clicks : Formatting links to mimic ads คือ การวาง Adsense ที่ทำให้เกิดความสับสน หรือ ไม่สามารถแยกออกได้ชัดเจน ระหว่าง Adsense และ Menu Bar , Navigation Bar หรือ Download Link จากรูปจะเห็นว่ามีการนำ Adsense แบบ Link Unit มาติดไว้ ที่ Menu ของเวป ทำให้มีการ คลิกผิด โดยที่ คนคลิก คิดว่า มันจะเป็นลิงค์ไปที่หน้าอื่น ของเวปไซต์นี้ ซึ่ง รูปแบบนี้ อาจจะหมายถึงการใช้ Link Unit แบบแนวนอน เอาๆไปวาง เป็น Navigation Bar ของเวป (Navigation Bar แถบเมนู สีน้ำเงิน ด้านบนของ Thaiseoboard ค๊ะ)
สามารถดู เนื้อหาฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
https://www.google.com/adsense/support/bin/answer.py?hl=en&answer=136901
2. Leading to accidental clicks คือ การติด Adsense ที่นำมาสู่การคลิกผิด accidental clicks การกดพลาด เช่น วาง Adsense ไว้ใต้ลิงค์ ซึ่ง สามารถทำให้คนที่ต้องการจะกดที่ลิงค์ ของ Website กดพลาด ไปโดนส่วนของ Google Adsense แทน
สามารถดู เนื้อหาฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
https://www.google.com/adsense/support/bin/answer.py?hl=en&answer=115985
3. Unnatural Attention คือ การติด Adsense ไว้ใกล้รูปภาพ หรือ สิ่งที่เป็นการชี้นำให้คลิก ดังรูปตัวอย่าง เป็นลูกศรที่ชี้มาที่ Google Adsense ในที่นี้ยังรวมถึง Icon หรือ รู)ภาพ ที่เป็น Point คือ ชี้เป้า ประมาณนั้น เช่น นิ้วมือ ชี้ไปที่ Adsense , ลูกศร , เป็นต้น
สามารถอ่านรายละเอียดฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
https://www.google.com/adsense/support/bin/answer.py?hl=en&answer=115985
4. Aligning images with ads คือการติด Adsense ไว้ใกล้รูป วิธีนี้ เป็นที่นิยมมากๆ ค๊ะใ นสมัยก่อน ที่ Google จะออกกฎห้าม วาง Adsense ไว้ใกล้รูปมา ซึ่งการวาง Adsense ไว้ใกล้รูปภาพนั้น ได้รับการพิสูจน์มาแล้ว ว่ามันช่วยให้คนคลิก Google Adsense เยอะขึ้นมากๆ ค๊ะ มาตอนหลัง Google พิจารณาแล้วว่า การติด Adsense แบบนี้นั้น ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า Adsense เป็นลิงค์ที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพนั่นเอง ซึ่งผู้ลงโฆษณาจะเสียประโยชน์ ในส่วนของทราฟฟิกที่ไม่มีคุณภาพ เลยทำการออกกฎห้ามค๊ะ
สามารถอ่านเนื้อหาฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
https://www.google.com/adsense/support/bin/answer.py?hl=en&answer=105960
5. Placing ads under a misleading heading คือ การติด Google Adsense ไว้ใต้ Title , หรือ ข้อความที่อาจทำให้เกิดการคลิก เช่น ดังตัวอย่าง Google ยกตัวอย่างการที่วาง Adsense ไว้ใต้คำว่า My Favorite Site ซึ่ง ทำให้ผู้อ่นในเวป คลิกเข้าไปอ่าน เพราะคิดว่านี่เป็นคำแนะนำจากเจ้าของเว็ปไซต์ ว่าลิงค์เหล่านี้ คือเวปที่เค้าชอบนั่นเอง
สามารถดู เนื้อหาฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
https://www.google.com/adsense/support/bin/answer.py?hl=en&answer=136881
6. Site layout that pushes content below the fold คือ การวาง Google Adsense ในส่วนบนของเวปไซต์ เมื่อคนเปิดเข้ามาที่เวปไซต์ จะเห็นแค่ Adsense แสดงอยู๋เท่านั้น ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว ในหน้านี้มีส่วนของเนื้อหาอยู๋เช่นกัน แต่จำเป็นที่จะต้องมีการ เลื่อนหน้าลงไปด้านล่าง จึงจะเห็นเนื้อหาของเว็ปไซต์ จากรูปด้านซ้าย คือ หน้า Webpage ทั้งหมด ด้านซ้าย คือ หน้า Webpage ที่ คนเข้ามาแล้วเห็นเป็นอย่างแรก
สามารถดู เนื้อหาฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
http://www.google.com/adsense/support/bin/answer.py?hl=en&answer=177526
7. Formatting content to mimic ads คือ การติด Adsense ให้ดูกลมกลืนไปกับ Text Link จากรูปจะเห็นว่า ด้านบนของ Google Adsense มีลิงค์อยู่ ทั้งหมดสามลิงค์ ซึ่งทั้งสามลิงค์ นั้นถูกออกแบบมาให้ดูคล้ายกับ Google Adsense ทั้งสี และ ส่วนของ URL (สีเขียว) ซึ่งการติด Adsense แบบนี้ Google บอกว่าผิดค๊ะ
สามารถดู เนื้อหาฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
https://www.google.com/adsense/support/bin/answer.py?hl=en&answer=136882
8. Ads shouldn’t be placed under a title or section heading in a way that implies that the ads are not ads. มันแปลได้ว่า Adsense ต้องไม่ถูกวางใต้ Title หรือ หัวข้อ ที่ทำให้ Adsense ถูกมองว่า ไม่ใช่ ข้อความโฆษณา การติด Adsense แบบนี้ มักพบเห็นได้ทั่วไป และเป็นที่ถกเถียงกัน ว่าติด Adsense ไว้ด้านล่าง -ข้างใต้ ของ Post Title ได้หรือไม่ มีหลายๆ คนที่ติด แล้วโดนแบน แต่ก็มีหลายคนที่ติดแล้ว ไม่โดน Asense แบนแต่อย่างใด ซึ่งสาเหตุ จริงๆ แล้วนั้น ไม่ได้อยู่ที่ว่ามันเป็น Title ของบทความ หรือ ไม่ค๊ะ มันอยู่ที่เนื้อหา ของ Title นั้น ตามที่ Google บอกว่า ห้ามทำให้ Ads ดูไม่ข้อความโฆษณา
ซึ่ง Google ได้ยกตัวอย่าง Title ตามรูปค๊ะ คือ Title คือ Today’s Hot Deals ซึ่งใครเห็น Title ก็อาจจะทำให้คิดว่า Adsense ที่อยู่ด้านล่างนี้เอง คือ ลิงค์ที่เป็น Hot Deals อย่างที่ Title บอก จริงมั้ยค๊ะ ซึ่งคนตัดสินว่าผิดไม่ผิด คือ เจ้าหน้าที่ของ Google Adsense ทางที่ดี เราป้องกันไว้ก่อนดีกว่าค๊ะ อย่าติดในจุดล่อแหลมนี้เลย
สามารถดู เนื้อหาฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
http://adsense.blogspot.com/2008/03/another-look-at-optimizations.html
9.Ads should be easily distinguishable from surrounding content อันนี้ก็คล้ายกับ ที่ได้มีการกล่าวไปแล้วด้านบนค๊ะ คือ พยายามติด Adsense รวมไว้ในกลุ่มของ Link แบบนี้ ผิดแน่ๆ ค๊ะ
สามารถดู เนื้อหาฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
http://adsense.blogspot.com/2008/03/another-look-at-optimizations.html
อันนี้เป็นแนวทางในการติด Google Adsense ในเวป ให้ปลอดภัย ของผิงค๊ะ wanwan019
1. ไม่ติด Adsense ใกล้รูปภาพค๊ะ
2. ไม่ติด Adsense ใกล้ส่วนที่เป็น ลิงค์ หรือ Text Link ต่างๆ ของเราค๊ะ
3. ไม่ติด Adsense ตรงส่วนของพื้นที่ ที่มันควรจะเป็น ที่ๆ ใช้วางส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ของเวป เช่น Menu Bar , Menu , หรือ Sidebar ค๊ะ
4. คนเข้าเวปมาต้องเห็น Adsense ชัดเจนค๊ะ คือ อ่านแล้ว ถึงคลิก Adsense จะถามตัวเองทุกครั้ง ถ้าเป็นเรา จะตั้งใจคลิกเพื่อดูข้อมูลด้านในจริงๆ มั้ย และห้ามมีอะไร มาบังส่วนใดส่วนนึง ของ Adsense เด็ดขาดค๊ะ
ลองเอาไปปรับใช้ดูนะค๊ะ รับรองปลอดภัย ไม่ต้องมากังวลเรื่องโดน Google Adsense แบน Account อีกแล้วค๊ะ Post หน้าพบกับ วิธีติด Adsense ให้ได้ CTR สูงๆ แบบไม่ผิดกฎ Google ค๊ะ
ขอขอบคุณคุณ Ping-O-Matic ด้วยนะครับ ที่เอาความรู้ในการติด Adsense มาแชร์พวกเรา