วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Google Adsense ที่ผิดกฎ ติด Adsense แบบนี้โดนแบนแน่ๆ

1. Encouraging Accidental Clicks : Formatting links to mimic ads คือ การวาง Adsense ที่ทำให้เกิดความสับสน หรือ ไม่สามารถแยกออกได้ชัดเจน ระหว่าง Adsense และ Menu Bar , Navigation Bar หรือ Download Link จากรูปจะเห็นว่ามีการนำ Adsense แบบ Link Unit มาติดไว้ ที่ Menu ของเวป ทำให้มีการ คลิกผิด โดยที่ คนคลิก คิดว่า มันจะเป็นลิงค์ไปที่หน้าอื่น ของเวปไซต์นี้ ซึ่ง รูปแบบนี้ อาจจะหมายถึงการใช้ Link Unit แบบแนวนอน เอาๆไปวาง เป็น Navigation Bar ของเวป (Navigation Bar แถบเมนู สีน้ำเงิน ด้านบนของ Thaiseoboard ค๊ะ)
สามารถดู เนื้อหาฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
https://www.google.com/adsense/support/bin/answer.py?hl=en&answer=136901
2. Leading to accidental clicks คือ การติด Adsense ที่นำมาสู่การคลิกผิด accidental clicks การกดพลาด เช่น วาง Adsense ไว้ใต้ลิงค์ ซึ่ง สามารถทำให้คนที่ต้องการจะกดที่ลิงค์ ของ Website กดพลาด ไปโดนส่วนของ Google Adsense แทน
สามารถดู เนื้อหาฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
https://www.google.com/adsense/support/bin/answer.py?hl=en&answer=115985
3. Unnatural Attention คือ การติด Adsense ไว้ใกล้รูปภาพ หรือ สิ่งที่เป็นการชี้นำให้คลิก ดังรูปตัวอย่าง เป็นลูกศรที่ชี้มาที่ Google Adsense ในที่นี้ยังรวมถึง Icon หรือ รู)ภาพ ที่เป็น Point คือ ชี้เป้า ประมาณนั้น เช่น นิ้วมือ ชี้ไปที่ Adsense , ลูกศร , เป็นต้น
สามารถอ่านรายละเอียดฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
https://www.google.com/adsense/support/bin/answer.py?hl=en&answer=115985
4. Aligning images with ads คือการติด Adsense ไว้ใกล้รูป วิธีนี้ เป็นที่นิยมมากๆ ค๊ะใ นสมัยก่อน ที่ Google จะออกกฎห้าม วาง Adsense ไว้ใกล้รูปมา ซึ่งการวาง Adsense ไว้ใกล้รูปภาพนั้น ได้รับการพิสูจน์มาแล้ว ว่ามันช่วยให้คนคลิก Google Adsense เยอะขึ้นมากๆ ค๊ะ มาตอนหลัง Google พิจารณาแล้วว่า การติด Adsense แบบนี้นั้น ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า Adsense เป็นลิงค์ที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพนั่นเอง ซึ่งผู้ลงโฆษณาจะเสียประโยชน์ ในส่วนของทราฟฟิกที่ไม่มีคุณภาพ เลยทำการออกกฎห้ามค๊ะ
สามารถอ่านเนื้อหาฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
https://www.google.com/adsense/support/bin/answer.py?hl=en&answer=105960
5. Placing ads under a misleading heading คือ การติด Google Adsense ไว้ใต้ Title , หรือ ข้อความที่อาจทำให้เกิดการคลิก เช่น ดังตัวอย่าง Google ยกตัวอย่างการที่วาง Adsense ไว้ใต้คำว่า My Favorite Site ซึ่ง ทำให้ผู้อ่นในเวป คลิกเข้าไปอ่าน เพราะคิดว่านี่เป็นคำแนะนำจากเจ้าของเว็ปไซต์ ว่าลิงค์เหล่านี้ คือเวปที่เค้าชอบนั่นเอง
สามารถดู เนื้อหาฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
https://www.google.com/adsense/support/bin/answer.py?hl=en&answer=136881
6. Site layout that pushes content below the fold คือ การวาง Google Adsense ในส่วนบนของเวปไซต์ เมื่อคนเปิดเข้ามาที่เวปไซต์ จะเห็นแค่ Adsense แสดงอยู๋เท่านั้น ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว ในหน้านี้มีส่วนของเนื้อหาอยู๋เช่นกัน แต่จำเป็นที่จะต้องมีการ เลื่อนหน้าลงไปด้านล่าง จึงจะเห็นเนื้อหาของเว็ปไซต์ จากรูปด้านซ้าย คือ หน้า Webpage ทั้งหมด ด้านซ้าย คือ หน้า Webpage ที่ คนเข้ามาแล้วเห็นเป็นอย่างแรก
สามารถดู เนื้อหาฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
http://www.google.com/adsense/support/bin/answer.py?hl=en&answer=177526
7. Formatting content to mimic ads คือ การติด Adsense ให้ดูกลมกลืนไปกับ Text Link จากรูปจะเห็นว่า ด้านบนของ Google Adsense มีลิงค์อยู่ ทั้งหมดสามลิงค์ ซึ่งทั้งสามลิงค์ นั้นถูกออกแบบมาให้ดูคล้ายกับ Google Adsense ทั้งสี และ ส่วนของ URL (สีเขียว) ซึ่งการติด Adsense แบบนี้ Google บอกว่าผิดค๊ะ
สามารถดู เนื้อหาฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
https://www.google.com/adsense/support/bin/answer.py?hl=en&answer=136882
8. Ads shouldn’t be placed under a title or section heading in a way that implies that the ads are not ads. มันแปลได้ว่า Adsense ต้องไม่ถูกวางใต้ Title หรือ หัวข้อ ที่ทำให้ Adsense ถูกมองว่า ไม่ใช่ ข้อความโฆษณา การติด Adsense แบบนี้ มักพบเห็นได้ทั่วไป และเป็นที่ถกเถียงกัน ว่าติด Adsense ไว้ด้านล่าง -ข้างใต้ ของ Post Title ได้หรือไม่ มีหลายๆ คนที่ติด แล้วโดนแบน แต่ก็มีหลายคนที่ติดแล้ว ไม่โดน Asense แบนแต่อย่างใด ซึ่งสาเหตุ จริงๆ แล้วนั้น ไม่ได้อยู่ที่ว่ามันเป็น Title ของบทความ หรือ ไม่ค๊ะ มันอยู่ที่เนื้อหา ของ Title นั้น ตามที่ Google บอกว่า ห้ามทำให้ Ads ดูไม่ข้อความโฆษณา
ซึ่ง Google ได้ยกตัวอย่าง Title ตามรูปค๊ะ คือ Title คือ Today’s Hot Deals ซึ่งใครเห็น Title ก็อาจจะทำให้คิดว่า Adsense ที่อยู่ด้านล่างนี้เอง คือ ลิงค์ที่เป็น Hot Deals อย่างที่ Title บอก จริงมั้ยค๊ะ ซึ่งคนตัดสินว่าผิดไม่ผิด คือ เจ้าหน้าที่ของ Google Adsense ทางที่ดี เราป้องกันไว้ก่อนดีกว่าค๊ะ อย่าติดในจุดล่อแหลมนี้เลย
สามารถดู เนื้อหาฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
http://adsense.blogspot.com/2008/03/another-look-at-optimizations.html
9.Ads should be easily distinguishable from surrounding content อันนี้ก็คล้ายกับ ที่ได้มีการกล่าวไปแล้วด้านบนค๊ะ คือ พยายามติด Adsense รวมไว้ในกลุ่มของ Link แบบนี้ ผิดแน่ๆ ค๊ะ
สามารถดู เนื้อหาฉบับภาษาอังกฤษ จาก Google Adsense ได้ที่นี่
โค๊ด:
http://adsense.blogspot.com/2008/03/another-look-at-optimizations.html
อันนี้เป็นแนวทางในการติด Google Adsense ในเวป ให้ปลอดภัย ของผิงค๊ะ wanwan019
1. ไม่ติด Adsense ใกล้รูปภาพค๊ะ
2. ไม่ติด Adsense ใกล้ส่วนที่เป็น ลิงค์ หรือ Text Link ต่างๆ ของเราค๊ะ
3. ไม่ติด Adsense ตรงส่วนของพื้นที่ ที่มันควรจะเป็น ที่ๆ ใช้วางส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ของเวป เช่น Menu Bar , Menu , หรือ Sidebar ค๊ะ
4. คนเข้าเวปมาต้องเห็น Adsense ชัดเจนค๊ะ คือ อ่านแล้ว ถึงคลิก Adsense จะถามตัวเองทุกครั้ง ถ้าเป็นเรา จะตั้งใจคลิกเพื่อดูข้อมูลด้านในจริงๆ มั้ย และห้ามมีอะไร มาบังส่วนใดส่วนนึง ของ Adsense เด็ดขาดค๊ะ
ลองเอาไปปรับใช้ดูนะค๊ะ รับรองปลอดภัย ไม่ต้องมากังวลเรื่องโดน Google Adsense แบน Account อีกแล้วค๊ะ Post หน้าพบกับ วิธีติด Adsense ให้ได้ CTR สูงๆ แบบไม่ผิดกฎ Google ค๊ะ
ขอขอบคุณคุณ Ping-O-Matic ด้วยนะครับ ที่เอาความรู้ในการติด Adsense มาแชร์พวกเรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น